ประวัติโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

เดิมเปิดเป็นสาขาของโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม ใช้อาคารเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านใหม่เป็นสถานที่เรียน ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ จัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศ เมื่อวันที่   4  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2524    

ปีการศึกษา 2526 ได้ย้ายมาทำการสอน ณ ที่ตั้งโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคมในปัจจุบัน โดยกรมสามัญ ศึกษาได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง 4 ห้องเรียน และบ้านพักครูแบบ 202 ก. จำนวน    2 หลัง เป็นเงิน 436,000 บาท

เขตพื้นที่บริการ ครอบคลุมตำบลแม่ตื่น ตำบลม่อนจอง และแนวเขตรอยต่อของจังหวัดตาก   โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคมอยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหาร ส่วนตำบลแม่ตื่น มีสถานที่ราชการใกล้เคียง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านใหม่

– ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

– ทิศใต้ ติดต่ออำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

– ทิศตะวันออก ติดต่อ เขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก

– ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม เข้าร่วมเป็นโรงเรียนหนึ่งในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดเชียงใหม่  อันเกิดขึ้นจากปัญหา นักเรียนร้อยละ 60 เป็นนักเรียนที่มีภูมิลำเนาห่างไกล โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคมจึงจัดทำหอพักนักเรียนเพื่อให้บริการนักเรียนที่มีจำนวนมาก ซึ่งอาหาร และวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียนพักนอนเพราะโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคมเป็นโรงเรียนที่ความห่างไกลจากตัวเมือง โดยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ดังนี้

          ทิศเหนือ ติดต่อกับ  ตำบลยางเปียง  อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

          ทิศใต้ติดต่อ  อำเภอแม่ระมาด  จังหวัดตาก  และ  อำเภอท่าสองยาง  จังหวัดตาก

          ทิศตะวันออก ติดต่อ  เขตอำเภอสามเงา  จังหวัดตาก

          ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  อำเภอท่าสองยาง  จังหวัดตาก

          นอกจากนั้นนักเรียนร้อยละ 60 เป็นนักเรียนที่เป็นชาติพันธุ์ฐานะยากจนทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษาต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นต่อการพัฒนาท้องถิ่น

          โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม จึงได้น้อมนำพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา โดยได้ดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์และแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ความรู้ ความสามารถ ของเยาวชนในพื้นที่ อำเภออมก๋อย 6 วัตถุประสงค์ ดังนี้

วัตถุประสงค์ที่ 1 ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา

วัตถุประสงค์ที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน

วัตถุประสงค์ที่ 3 เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ

วัตถุประสงค์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ

วัตถุประสงค์ที่ 5 ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          วัตถุประสงค์ที่ 6 เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ที่ตั้งและอาณาเขต

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงมีภูเขาสูงสลับซับซ้อนและพื้นที่ราบต่ำบริเวณหุบเขามีลำน้ำแม่ตื่นไหลผ่านตลอดปีแม่น้ำสายหลักคือ ลำน้ำแม่ตื่น ลักษณะภูมิอากาศสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน ในช่วงฤดูร้อนอากาศจะร้อนอบอ้าวมากอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็น และมีหมอกลงมาก ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก การคมนาคมติดต่อระหว่างชุมชนในเขตบริการสภาพถนนเป็นถนนคอนกรีต ถนนดินลูกรัง และถนนลาดยางโดยเส้นทางการติดต่อพื้นที่ข้างเคียง  ได้แก่

– การติดต่อ ตัวอำเภออมก๋อย ใช้เส้นทางหลวง หมายเลข 1099 ระยะทาง 74  กิโลเมตร

– การติดต่อ จังหวัดเชียงใหม่เป็นระยะทาง  252  กิโลเมตร

– การติดต่อ อำเภอแม่ระมาด ใช้เส้นทางลัดเลาะตามภูเขาและลำน้ำระยะทาง 54 กิโลเมตร

– การติดต่อ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ใช้เส้นทางเดินเท้าลัดเลาะตามเขาระยะทาง 47 กิโลเมตร

การปกครองอยู่ในเขตการปกครองของอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งมีหมู่บ้านในเขตบริการทั้งหมด  2 ตำบล 25 หมู่บ้าน คือ

  1.  ตำบลแม่ตื่น จำนวน 16 หมู่บ้าน  เป็นหมู่บ้านพื้นราบ 6 หมู่บ้าน หมู่บ้านบนภูเขา 10 หมู่บ้าน 
  2.  ตำบลม่อนจอง จำนวนหมู่ที่ 9 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านพื้นราบ 5 หมู่บ้าน หมู่บ้านบนภูเขา 4 หมู่บ้าน

          สภาพทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพหลัก คือ การทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจคือ ข้าว กะหล่ำปลี ถั่วเหลือง มะเขือเทศ และอาชีพการหาของป่าเช่น หน่อไม้ เก็บเห็ด ล่าสัตว์ ตามฤดูกาล แต่การประกอบอาชีพนี้ ส่วนใหญ่ทำเพื่อใช้ดำรงชีวิตประจำวันเท่านั้นไม่ได้ทำเพื่อขายเพิ่มรายได้จึงทำให้ฐานะความเป็นอยู่เป็นแบบพอกินพออยู่

ธรรมเนียบผู้บริหาร

รายนามผู้บริหารระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
นายเสรี              สุวรรณเพชรพ.ศ. 2525 – 2528
นายสมพล           วัฒนชัยพ.ศ. 2528 – 2530
นายองอาจ          เจริญเวชพ.ศ. 25308 – 2532
นายสังคม            โปธุอินทร์พ.ศ. 2532 – 2533
นายมงคล            จินดามังพ.ศ. 2533 – 2535
นายธนกฤต         วรรณลังกาพ.ศ. 2538 – 2543
นายนิคม             สินธุพงษ์พ.ศ. 2543 – 2546
นายสุกิจ             ไชยนวลพ.ศ. 2546 – 2548
นายพงษ์ชัย         คำเมรุพ.ศ. 2548 – 2552
นายเทียม            มหาชัยพ.ศ. 2552 – 2552
นายจำลอง          ปันดอนพ.ศ. 2552 – 2556
นางสาวศุจีภรณ์    อาจนาเสียวพ.ศ 2557  – 2559
นายสุรชัย            คูณแก้วพ.ศ 2559  – 2563
 นายสุวิทย์          เหลืองทองพ.ศ. 2563 – 2566
นางสาวปนิดา ปันดอนพ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน
  • ตั้งอยู่เลขที่ 204 หมู่ 2 ตำบล แม่ตื่น อำเภอ อมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50310
  • โทรศัพท์ – 063-2054655
  • E-mail maetuen@secondary34.go.th
  • website https://maetuen.ac.th/
    เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับอาชีวศึกษา (ปวช.) หลักสูตรทวิศึกษา มีพื้นที่ทั้งหมด 2 แปลง รวม 48 ไร่ 2 งาน 14 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ ครอบคลุมตำบลแม่ตื่น ตำบลม่อนจองและแนวเขตรอยต่อของจังหวัดตาก

: